วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การเลือกขนาดของเครื่องฉีดพลาสติกสำหรับโรงงานพลาสติก

การเรียกขนาดของเครื่องฉีดพลาสติกและขนาดสกรูฉีดของโรงงานพลาสติก
     ตามที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าการเรียกขนาดของเครื่องฉีดพลาสติกนั้น สามารถเรียกได้อยู่ 2แบบ คือเรียกตามขนาดของแรงปิดแม่พิมพ์สูงสุด (Max Clamping Force) เรียกเป็น ตัน (tons) หรือกิโลนิวตัน (kN) และเรียกตามน้ำหนักของพลาสติกที่สามารถฉีดได้สูงสุดเป็นกรัมหรือออนต์เทียบกับพลาสติก PS โดยขึ้นอยู่กับขนาดความโตของสกรูฉีดด้วย ซึ่งเครื่องฉีดแต่ละเครื่องโดยทั่วไปจะมีสกรูให้เลือกอยู่ 3ขนาดด้วยกัน คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ แล้วแต่ความเหมาะสมที่ โรงงานพลาสติก จะเลือกใช้ เครื่องฉีดที่มีขนาดแรงปิดแม่พิมพ์เท่ากันแต่ยี่ห้อต่างกันอาจจะมีขนาดของสกรูต่างกันได้ สกรูขนาดเล็กจะได้ปริมาณพลาสติกเหลวในกระบอกฉีดน้อยที่สุด แต่ได้ความดันในการฉีดที่หัวฉีดมากสุด สกรูที่ติดมากับตัวเครื่องฉีดส่วนใหญ่จะเป็นสกรูขนาดกลาง ดังนั้นโรงงานฉีดพลาสติก ที่ทำการเลือกขนาดของสกรูฉีดจะต้องดูความต้องการของโรงงานตนเองว่าต้องการฉีดชิ้นงานพลาสติกลักษณะใด เช่นถ้าต้องการฉีดชิ้นงานที่ความหนาแน่นมากๆขนาดมีความเที่ยงตรงสูง และมีน้ำหนักไม่มาก โรงงานพลาสติกควรเลือกสกรูขนาดเล็ก และถ้าต้องการฉีดชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากๆ มีความหนาแน่นน้อยๆไม่ต้องการความเที่ยงตรงของขนาด โรงงานพลาสติกก็ควรเลือกใช้สกรูขนาดใหญ่ แต่ถ้าต้องการฉีดชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากๆ มีความหนาแน่นสูง มีความเที่ยงตรงของขนาดสูงๆก็ควรเลือกใช้สกรูขนาดเล็กแต่เป็นเครื่องฉีดพลาสติกที่มีขนาดแรงปิดแม่พิมพ์สูงขึ้น  ควรเลือกใช้สกรูที่เหมาะสมกับชิ้นงานที่จะฉีดตามความเหมาะสม

การเลือกขนาดของเครื่องฉีดพลาสติกของโรงงานพลาสติก
     การเลือกขนาดของเครื่องฉีดพลาสติกให้เหมาะสมกับการทำงานและลักษณะของชิ้นงานพลาสติกที่ต้องการฉีดนั้น เช่งการฉีด อ่างเปลผสมปูน ก็ต้องเลือกเครื่องฉีดที่มีขนาดใหญ๋ หรือ การฉีด เกรียงฉาบปูน กระบะฉาบปูน ก็เลือกเครื่องฉีดขนาดเล็ก มีข้อแนะนำถึงวิธีและขั้นตอนในการพิจราณาดังนี้

     1.ดูน้ำหนักของพลาสติกที่เครื่องสามารถฉีดได้สูงสุด ตัวอย่างเช่น เครื่องฉีดขนาดแรงปิดแม่พิมพ์ 100ตัน สกรูโต 30มิลลิเมตร ระยะถอยสกรูได้มากสุด 125มิลลิเมตร ปริมาตรช่องว่างในกระบอกที่อยู่หน้าปลายสกรูเมื่อสกรูถอยสุด คือ 88cm3 ฉีด ps ได้น้ำหนักมากสุก 79กรัม แต่ถ้าฉีด pp จะได้น้ำน้ำหนักมากสุด =(79x0.7)/0.9=64.4กรัม (เมื่อให้ความหนาแน่นของพลาสติกเหลว ps=0.9g/cm3 และความหนาแน่นของพลาสติกเหลว pp=0.7g/cm3) ดังนั้นการคำนวนหาน้ำหนักของพลาสติกแต่ละชนิดที่เครื่องฉีดแต่ละตัวสามารถฉีดได้สูงสุดจะต้องคำนึงถึงความหนาแน่นของพลาสติกเหลวแต่ละชนิดนั้นๆ ที่อุณหภูมิฉีดด้วย แต่ถ้าไม่ทราบค่าที่แน่นอนของความหนาแน่นพลาสติกเหลวที่แต่ละอุณหภูมิก็สามารถใช่ค่าโดยประมาณที่ใช้งานได้จริงดังนี้
  • ความหนาแน่นของพลาสติกเหลวประเภทอะมอร์พัสเทอร์มอพลาสติกจะมีค่าประมาณ 85% ของ ค่าความหนาแน่นของเม็ดพลาสติก เช่น เม็ด ps จะมีค่าความหนาแน่น 1.05 g/cm3 เมื่อเป็นพลาสติกหลอมเหลวที่อุณภูมิฉีดทั่วๆไป (ประมาณ 210-220 °C) จะมีค่าความหนาแน่นเท่ากับ 0.85x1.05=0.89g/cm
  • ความหนาแน่นของพลาสติกเหลวประเภทเซลามิคริสตัลไลน์เทอร์มอพลาสติกจะมีค่าประมาณ 80% ของค่าความหนาแน่นของเม็ดพลาสติก เช่น เม็ด pp จะมีค่าความหนาแน่น 0.90 g/cm3 เมื่อเป็นพลาสติกเหลวที่อุณหภูมิฉีดทั่วๆไป (ประมาณ 210 °C)จะมีค่าความหนาแน่นเท่ากับ 0.8x0.90=0.72g/cm3
     2. ดูจากแรงปิดแม่พิมพ์สูงสุดของเครื่องฉีดพลาสติกว่ามีค่ามากพอกับแรงที่ต้องการใช้ปิดแม่พิมพ์ของชิ้นงานที่จะฉีดหรือไม่ เนื่องจากชิ้นงานที่มีรูปร่างแตกต่างกันแม้ว่าจะมีน้ำหนักที่เท่ากันก็ตามแต่แรงปูดแม่พิมพ์จะไม่เท่ากัน เช่นการฉีด ถังปูน กับ ตะกร้าลำไย แม้ว่าจะมีน้ำหนักที่เท่ากัน แต่ ถังปูนจะมีความบางกว่าเข่งพลาสติก ดังนั้นแรงดันที่เกิดขึ้นในแม่พิมพ์ที่จะทำการปิดแม่พิมพ์จะมีมากกว่าจะทำให้แม่พิมพ์ผเยอออกจากกันได้ จึงต้องใช้เครื่องที่มีแรงปิดแม่พิมพ์ที่สูงกว่า

     3. ดูว่าขนาดของแม่พิมพ์พลาสติกว่าสามารถลงไปในช่องระหว่างเสา (Tie Bar) และยึดติดเข้ากับหน้าปาก (แผ่นยึดแม่พิมพ์ของเครื่องฉีด) ได้หรือไม่ โดยการวัดขนาดความกว้างความสูงของแม่พิมพ์เทียบกับระยะห่างของเสาดูก่อนพร้อมทั้งดูว่าแม่พิมพ์ไปปิดที่รูเกรียวยึดแม่พิมพ์หรือไม่ ก่อนที่จะยกแม่พิมพ์ขึ้นเครื่องฉีดเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดและเสียเวลาในการทำงานของโรงงานพลาสติก

     4. ดูว่าระยะเคลื่อนที่เข้า-ออกของหน้าปากกาเครื่องฉีดพลาสติกเพียงพอหรือไม่ ถ้าระยะเปิดไม่พอ เช่นปิดสุดแล้วยังมีช่องว่างหน้าปากกา 240 มิลลิเมตร แต่แม่พิมพ์มีความสูง (ความหนา) เพียง 220 มิลลิเมตรก็ต้องเสริมแม่พิมพ์ให้มีขนาด 241 มิลลิเมตร ขึ้นไป (ไม่ควรเสริมให้พอดี เท่ากับระยะห่างของหน้าปากกาพอดี เพราะระบบไฮดรอลิกของเครื่องฉีดจะไม่มีแรง) โดยเฉพาะระยะเปิดแม่พิมพ์ต้องกว้างพอที่จะถูกกระทุ้งหล่นหรือจะหยิดชิ้นงานออกมาได้

การเลือกขนาดของเครื่องฉีดพลาสติกของโรงงานพลาสติก


     สรุปขั้นตอนในการเลือกขนาดของเครื่องฉีดพลาสติก คือต้องดูน้ำหนักของพลาสติกที่เครื่องสามารถฉีดได้ก่อนว่าเพียงพอหรือไม่ ถ้าเพียงพอจึงดูแรงปิดแม่พิมพ์ที่เครื่องทำได้ แต่ถ้าเครื่องฉีดที่คิดจะเลือกนั้นสามารถฉีดน้ำหนักพลาสติกได้เพียงพอ แต่แรงปิดแม่พิมพ์ไม่เพียงพอ ก็ให้หาเครื่องที่ใหญ่ขึ้นที่มีแรงปิดแม่พิมพ์มากขึ้นให้เพียงพอ โดยไม่ต้องดูน้ำหนักที่ชิ้นงานพลาสติกที่สามารถฉีดได้ เพราะเครื่องฉีดที่ใหญ่ขึ้นสกรูก็ใหญ่ตามน้ำหนักพลาสติกที่ฉีดได้ก็จะมากขึ้นด้วย และต่อจากนั้นจึงดูที่แม่พิมพ์ว่าสามารถลงเครื่องได้หรือติด Tie Bar หรือไม่ ถ้าติดก็ให้เลือกเครื่องที่มี Tie Bar กว้างขึ้น แต่น้ำหนักพลาสติกและแรงปิดแม่พิมพ์เท่าเดิมหรือเลือกขนาดเครื่องฉีดที่ใหญ่ขึ้นไปอีกเท่าที่แม่พิมพ์จะเข้าเครื่องฉีดพลาสติกได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงน้ำหนักและแรงปิด เพราะยังคงเพียงพอต่อจากนั้นให้ดูระยะเปิดปิดแม่พิมพ์ว่าเพียงพอหรือไม่เป็นขั้นตอนสุดถ้าย (หมายเหตุ เราควรเลือกเครื่องฉีดพลาสติกให้เหมาะสม จะประหยัดต้นทุนให้ กับ โรงงงานพลาติก ได้

วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560

ขั้นตอนพื้นฐานในการฉีดพลาสติกในโรงงานฉีดพลาสติก

ขั้นตอนพื้นฐานในการฉีดพลาสติกในโรงงานฉีดพลาสติก

     การทำงานของเครื่องฉีดพลาสติกจะมีการทำงานอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3รูปแบบ คือ แบบไม่เป็นอัตโนมัติ (Manual) ซึ่งจะสั่งให้เครื่องทำงานในขั้นตอนใดก่อนหลังก็ได้ตามที่ต้องการ แบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Auto) ซึ่งการทำงานจะเป็นไปตามขั้นตอของเครื่องฉีดเพียงวงรอบการทำงานเดียวเท่านั้นแล้วหยุด และแบบอัตโนมัติทั้งหมด (Fully-Automatic) จะมีการทำงานเป็นไปตามขั้นตอนของเครื่องฉีด โดยเมื่อครบวงรอบการทำงานของเครื่องฉีดพลาสติกแล้ว ก็จะเริ่มวงรอบการทำงานใหม่ทันที และทำต่อไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง โดยการทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติและแบบอัตโนมัติทั้งหมดจะมีขั้นตอนพื้นฐานในการฉีดพลาสติกประกอบไปด้วย 9ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนการฉีดพลาสติกในโรงงาน

     1. ขั้นตอนแม่พิมพ์พลาสติกเครื่อนที่เข้าปิด โดยจะมีพารามิเตอร์คือ ความดัน (แรง) ความเร็ว และระยะทางในการเคลื่อนที่ปิดเข้าหากันของแม่พิมพ์ ซึ่งส่วนมากจะแบ่งออกได้เป็น 5 ช่วงด้วยกัน คือ ช่วงแรกเป็นช่วงที่แม่พิมพ์ด้านเคลื่อนที่ปิดเข้าหาห้าแม่พิมพ์ที่อยู่กับที่ โดยใช้ความเร็วที่ช้าเป็นระยะทางที่สั้นๆ ช่วงที่สองเป็นช่วงที่แม่พิมพ์เคลือนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้นเป็นระยะทางยาว ช่วงที่สามเป็นช่วงที่แม่พิมพ์กำลังลดความเร็วลงในระยะที่เหลือไม่มากนัก ช่วงที่สี่เป็นช่วงที่ป้องกันแม่พิมพ์เกิดความเสียหายก่อนที่แม่พิมพ์จะปิดสนิด และช่วงที่ห้าเป็นช่วงที่แม่พิมพ์ปิดสนิทหรือเรียกว่า ช่วงปิดล็อกแม่พิมพ์ ด้วยความดันหรือแรงที่สูงมาก เพื่อป้องกันเนื้อพลาสติกเหลวทลักออกเวลาฉีด

     2. ขั้นตอนชุดฉีดหรือหัวฉีดเครื่อนที่เข้าชนรูฉีดพลาสติกที่แม่พิมพ์ตะกร้าลำไย โดยจะใช้ความดันและความเร็วตามที่ตั้งตามพารามิเตอร์

     3. ขั้นตอนสกรูเครื่องฉีดเคลื่อนตานแนวแกนโดนไม่หมุนไปด้านหน้าเพื่อดันพลาสติกเหลวที่อยู่ในกระบอกฉีดให้ไหลออกจากหัวฉีดไปที่แม่พิมพ์พลาสติกให้เต็ม เรียกว่าจังหวะฉีด (Injection Phase) โดยจะประกอบไปด้วยพารามิเตอร์คือ ความเร็วฉีด ความดันฉีด ระยะทางฉีด และ เวลาในการฉีด แต่ผู้ผลิตเครื่องฉีดบางบริษัทออกแบบให้สกรูสามารถเคลื่อนที่ตามแนวแกนพร้อมกับหมุนไปได้ด้วย เพื่อป้อนพลาสติกไปพร้อมกับการฉีด ประโยชน์คือสามารถฉีดชิ้นงานที่มีปริมาตรและน้ำหนักมากกว่าปกติได้

     4.ขั้นตอนสกรูเคลื่อนที่ตามแนวแกนโดยไม่มีการหมุน เพื่อขับดันพลาสติกเหลวเข้าไปในแม่พิมพ์เพิ่มเติมหลังจากที่พลาสตกเหลวเต็มในแม่พิมพ์แล้ว เพื่อที่จะรักษาแรงดันให้พลาสติกเหลวไม่ย้อนกลับและเพิ่มความหนาแน่นให้ชิ้นงานพลาสติกในแม่พิมพ์ตามที่ต้อง เรียกว่าช่วงการย้ำ (Holding) ชิ้นงานพลาสติกจะได้มีขนาดที่ต้องการ มีความแข็งแรง โดยประกอบไปด้วยการปรับตั้งค่าต่างๆ คือ ความดัน เวลา และความเร็ว (สำหรับเครื่องฉีดพลาสติก ของแต่ละ โรงงานฉีดพลาสติก หรือ บางรุ่น บางยี่ห้อ ค่าการตั้งเหล่านี้อาจจะไม่เหมือนกัน)

     5.ขั้นตอนการเริ่มหมุนสกรูเพื่อดึงเม็ดพลาสติกจากกรวยพลาสติก พร้อมทั้งป้อนไปข้างหน้าของสกรูเพื่อทำการหลอมผสมเม็ดพลาสติกและป้อนเม็ดไปอยู่หน้าปลายสกรู เรียกว่า จังหวะ Plasticizing โดยจะมี การตั้งค่า คือ ความดัน ความเร็ว ระยะทาง โดยจังหวะการทำงานนี้จะเป็นตัวกำหนดปริมาณเนื้อพลาสติกว่าต้องการปริมาณเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับขนาดชิ้นงาน (ระยะตั้งเนื้อพลาสติก) เนื่องจากเวลาที่สั่งให้สกรูหมุนนั้น พลาสติกเหลวที่อยู่หน้าปลายสกรูจะเกิดแรงดันจนทำให้สกรูถอยหลังกลับไปยังทิศทางของกรวยเติมเม็ดพลาสติกได้ และในขั้นตอนนี้จะมีการใช้แรงดันในการต้านการถอยหลังกลับของสกรูเพื่อควบคุมความหนาแน่นของพลาสติกเหลวที่อยู่หน้าปลายสกรูฉีดให้มีค่าควที่เรียวว่า Black Presssure ตลอดจนมีการกระตุกสกรูให้เคลื่อนตามแนวแกนเท่านั้น การกระตุกสกรูมีทั้งตอนก่อนเริ่มหมุนและหลังหยุดหมุน เรียกว่า Suck Back หรือ Pull Back หรือ Decompression

     6.ขั้นตอนการหล่อเย็นพลาสติกที่อยู่ในแม่พิมพ์ให้เปลี่ยนจากพลาสติกเหลวเป็นของแข็ง โดยจะทำงานพร้อมกับการเริ่มหมุนสกรูเพื่อหลอมและป้อนพลาสติกเหลวไปหน้าปลายสกรูฉีดในขั้นตอนที่ 5 โดยขั้นตอนที่ 5และ6นี้ จะเริ่มทำงานพร้อมกันเมื่อสิ้นสุดเวลาในการย้ำรักษาความดันแล้ว

     7.ขั้นตอนชุดฉีดหรือหัวฉีดเคลื่อนที่ถอยออกจากแม่พิมพ์ จะทำงานเมื่อสกรูหยุดการเคลื่อนที่แล้วกล่าวคือหยุดหมุนและหยุดถอยแล้ว โดยจะมีพารามิเตอร์ คือ ความดัน (แรง) และความเร็ว ขั้นตอนนี้บาง โรงงานพลาสติก อาจไม่ได้ใช้แล้วแต่กรณี

     8.ขั้นตอนแม่พิมพ์เคลื่อนที่เปิดเมื่อเวลาในการหล่อเย็นจากขั้นตอนที่ 6 นั้นหมดลงแล้ว โดยจะมีพารามิเตอร์คือ ความดัน (แรง) ความเร็ว ระยะทาง ความเร็วและระยะทางในการเปิดแม่พิมพ์พลาสติกส่วนมากเครื่องฉีดที่โรงงานฉีดพลาสติกจะมีอยู่ 3ความเร็ว และ 3ระยะทางด้วยกัน โดยความเร็วแรกเป็นช่วงที่แม่พิมพ์เริ่มเคลื่อนที่แยกออกจากกัน ควรใช้ความเร็วที่ช้าๆและเป็นระยะทางสั้นๆ ให้ชิ้นงานฉีดสามารถขยับตัวเคลื่อนที่ออกจากแม่พิมพ์ด้านอยู่กับที่และติดออกมากับด้านแม่พิมพ์ด้านเครื่อนที่ได้ หลังจากนั้นจึงใช้ความเร็วจังหวะที่สองให้เร็วขึ้นและเป็นระยะทางยาวขึ้นด้วยเพื่อประประหยัดเวลาให้กับโรงงานพลาสติก ได้ซึ่งจะได้ชิ้นงานที่เร็วขึ้น และช่วงสุดท้ายความเร็วในช่วงที่ 3 เป็นช่วงก่อนแม่พิมพ์พลาสติกจะเปิดสุด ควรใช้ความเร็วที่ช้าลงและระยะทางสั้นๆ เพื่อให้แม่พิมพ์สามารถหยุดได้ครงตามตำแหน่งโดยไม่เกิดการสั่นสะเทือน ส่วนระยะในการเปิดแม่พิมพ์ก็ไม่ควรตั้งให้กว้างมากแค่พอให้ชิ้นงานพลาสติกออกได้พอดีและไม่ติดค้างอยู่ที่แม่พิมพ์หลังจากกระทุ้งแล้วหรือสามารถใช้มือหรือแขนกลจับออกมาได้ก็เพียงพอแล้ว เพื่อประหยัดเวลาในการผลิตชิ้นงานพลาสติกของ โรงงานฉีดพลาสติก

     หมายเหตุ ขั้นตอนที่ 2 และ 7 ซึ่งเป็นขั้นตอนในการเคลื่อนที่ของชุดฉีดเข้าหาและเคลื่อนที่ออกจากแม่พิมพ์นั้น อาจไม่ต้องใช้ในบางโรงงาน เพื่อเป็นการลดขั้นตอนและเวลาในการผลิตชิ้นงานพลาสติก แต่อาจจะมีข้อดีและข้อเสียอยู่บ้าง แล้วแต่การตัดสินใจของแต่ละโรงงานฉีดพลาสติกในการผลิตชิ้นงาน